วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

ชิ้นงานที่ 2 การสื่อสารข้อมูลด้วยระบบ VOIP



 การสื่อสารข้อมูลด้วยระบบ VOIP
วิวัฒนาการการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
ในปัจจุปันการใช้อินเทอร์เน็ตมีบทบาทกับชีวิตประจำวันมากขึ้น และใช้งานกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความจำเป็นที่จะต้องติดต่อสื่อสาร อินเตอร์เน็ตจึงได้รับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการสื่อสารรูปแบบต่างๆ เช่น การใช้จดหมายอินเล็กทรอนิกส์ การติดต่อด้วยเสียง ระบบ VDO Conference การใช้โทรศัพท์บนเครือข่าย ซึ่งก็มีวิวัฒนาการตามลำดับเบื้องต้นดังนี้

E-mail
หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิคส์เป็นบริการอย่างหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมาก จนทำให้บางคนคิดว่า E-mail คือ อินเตอร์เน็ต และอินเตอร์เน็ตคือ E-mail วิธีใช้งานอีเมลล์ก็ง่ายและมีประโยชน์มาก การทำงานของ E-mail มีลักษณะคล้ายกับระบบไปรษณีย์ปกติ (หมายถึงระบบที่ใช้กระดาษในการเขียนจดหมาย) กล่าวคือในระบบไปรษณีย์ปกติมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการรับส่งจดหมายคือเป็นบุรุษไปรษณีย์ (ในกรณีของประเทศไทยคือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย) ถ้าเป็นในอินเตอร์เน็ตสิ่งที่ทำหน้าที่คอยรับส่งจดหมายคือบรรดาคอมพิวเตอร์ทั้งหลายที่ทำหน้าที่เป็น E-mail Server (คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการด้านจดหมายอิเล็กทรอนิคส์)

Chat
คือ การส่งข้อความสั้นๆ ระหว่างบุคคลที่อยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในเวลาเดียวกัน และสามารถเขียนโต้ตอบกันไปมาคล้ายกับการคุยกัน ซึ่งก็ได้มีการพัฒนาโปรแกรมสำหรับหาร Chat ออกมามากมายที่เป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายก็คือ MSN Messengerและสิ่งหนึ่งที่มีการพัฒนาต่อมา คือระบบการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่าย IP ที่เรียกว่า เทคโนโลยี Voice over IP หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “VoIP” จนสามารถใช้งานได้ดีขึ้น เพื่อให้ได้รับประโยชน์และมีความสะดวกมากที่สุด VoIP ถูกเริ่มต้นใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสามารถสนทนา ระหว่างกัน ได้ รวมถึงการสนทนากับโทรศัพท์พื้นฐานอีกด้วยโดยไม่เสียค่าบริการแต่อย่างได และคุณภาพของบริการก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆจนเทียบเท่าระบบ โทรศัพท์พื้นฐาน
ซึ่ง VoIP สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ
1. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไปยัง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ( PC to PC )
PC มีการติดตั้ง sound card และไมโครโฟน ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย IP การประยุกต์ใช้ PC และ IP-enabled telephones สามารถสื่อสารกันได้แบบจุดต่อจุด หรือ แบบจุดต่อหลายจุด โดยอาศัย software ทางด้าน IP telephony


2. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไปยัง โทรศัพท์พื้นฐาน ( PC to Phone )
เป็นการเชื่อมเครือข่ายโทรศัพท์เข้ากับ เครือข่าย IP ทำให้โดยอาศัย Voice trunks ที่สนับสนุน voice packet ทำให้สามารถใช้ PC ติดต่อกับ โทรศัพท์ระบบปกติได้

3. โทรศัพท์กับโทรศัพท์ ( Telephony )
เป็นการใช้โทรศัพท์ธรรมดา ติดต่อกับโทรศัพท์ธรรมดา แต่ในกรณีนี้จริงๆแล้วประกอบด้วยขั้นตอนการส่งเสียงบนเครือข่าย Packet ประเภทต่างๆซึ่งทั้งหมดติดต่อกันระหว่างชุมสายโทรศัพท์ (PSTN) การติดต่อกับ PSTN หรือ การใช้โทรศัพท์ร่วมกับเครือข่ายข้อมูลจำเป็นต้องใช้ gateway
Voice over IP (VoIP) คืออะไร
ก่อนที่เราจะรู้ว่า VoIP คือออะไร สิ่งที่เราควรจะต้องรู้ก่อนก็คือ เครือข่าย IP มีหลักการพื้นฐานอย่างไร แล้วจึงพัฒนาไปเป็น VoIP ได้อย่างไร
หลักการพื้นฐานของเครือข่าย IP

เครือข่ายไอพี (Internet Protocol) มีพัฒนามาจากรากฐานระบบการสื่อสารแบบ Packet โดยระบบมีการกำหนด Address ที่เรียกว่า IP Address จาก IP Address หนึ่ง ถ้าต้องการส่งข่าวสารไปยังอีก IP Address หนึ่ง ใช้หลักการบรรจุข้อมูลใส่ใน Packet แล้วส่งไปในเครือข่าย ระบบการจัดส่ง Packet กระทำ ด้วยอุปกรณ์สื่อสารจำพวก Router โดยมีหลักพื้นฐานการส่งเป็นแบบ DATAGRAM หรือ Packet ซึ่งมีความหมายว่า "เป็นที่เก็บข้อมูลที่เป็นอิสระ ซึ่งมีสารสนเทศเพียงพอในการเดินทางจากแหล่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง โดยปราศจากความเชื่อมั่นของการเปลี่ยนครั้งก่อน ระหว่างแหล่งข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ปลายทาง และเครือข่ายการส่งข้อมูล"

ซึ่งจะเห็นว่าการส่งแบบ Packet เข้าไปในเครือข่ายนั้น จะไม่มีการประกันว่า Packet นั้นจะถึงปลายทางเมื่อไร ดังนั้นรูปแบบของเครือข่ายไอพีจึงไม่เหมาะสมกับการสื่อสารแบบต่อเนื่องเช่น การส่งสัญญาณเสียง หรือวิดีโอ เมื่อเครือข่าย IP กว้างขวางและเชื่อมโยงกันมากขึ้น ความต้องการส่งสัญญาณข้อมูลเสียงที่ได้คุณภาพจึงเกิดขึ้น ก็เลยมีการพัฒนาเป็น VoIP

แล้ว Voice over IP (VoIP) คืออะไร

VoIP-Voice Over IP หรือที่เรียกกันว่า “VoIP Gateway” หมายถึง การส่งเสียงบนเครือข่ายไอพี เป็นระบบที่แปลงสัญญาณเสียงในรูปของสัญญาณไฟฟ้ามาเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอล คือ นำข้อมูลเสียงมาบีบอัดและบรรจุลงเป็นแพ็กเก็ต ไอพี (IP) แล้วส่งไปโดยมีเราเตอร์ (Router) ที่เป็นตัวรับสัญญาณแพ็กเก็ต และแก้ปัญหาบางอย่างให้ เช่น การบีบอัดสัญญาณเสียง ให้มีขนาดเล็กลง การแก้ปัญหาเมื่อมีบางแพ็กเก็ตสูญหาย หรือได้มาล่าช้า (delay)

การสื่อสารผ่านทางเครือข่ายไอพีต้องมีเราเตอร์ (Router) ที่ทำหน้าที่พิเศษเพื่อประกันคุณภาพช่องสัญญาณไอพีนี้ เพื่อให้ข้อมูลไปถึง ปลายทางหรือกลับมาได้อย่างถูกต้อง และอาจมีการให้สิทธิพิเศษก่อนแพ็กเก็ตไอพีอื่น (Quality of Service : QoS) เพื่อการให้บริการที่ทำให้เสียงมีคุณภาพ



นอกจากนั้น Voice over IP (VoIP) ยังเป็นการส่งข้อมูลเสียงแบบ 2 ทางบนระบบเครือข่ายแบบ packet-switched IP network. ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกส่งผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสาธารณะ เพื่อสื่อสารระหว่าง VoIP ด้วยกัน โดยที่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้

สำหรับการใช้งานเทคโนโลยี VoIP นั้น จริงๆ แล้วทุกๆ องค์กรสามารถนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้งานได้ แต่สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงและน่าจะได้รับประโยชน์จากการนำเทคโนโลยี VoIP มาประยุกต์ใช้งานมากที่สุด ได้แก่... กลุ่มธุรกิจขนาดย่อม หรือ SME (Small/Medium Enterprise) รวมถึงกลุ่ม ISP (Internet Service Provider) ต่างๆ สำหรับกลุ่มธุรกิจ SME อาจจะต้องเป็นกลุ่มที่มีระบบเครือข่ายข้อมูลของตนเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเครือข่าย Leased Line, Frame Relay, ISDN หรือแม้กระทั่งเครือข่าย E1/T1 ก็ตาม รวมถึงมีระบบตู้สาขาโทรศัพท์ในการใช้งานด้วย การนำเทคโนโลยี VoIP มาใช้งานนั้นจะทำให้องค์กรลดค่าใช้จ่ายในการใช้งานการสื่อสารสัญญาณเสียงไปได้อย่างมาก และเนื่องด้วยในปัจจุบันการขยายตัวของระบบเครือข่ายสัญญาณข้อมูล หรือ Data Network มีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วกว่าการขยายตัวของเครือข่ายสัญญาณเสียงค่อนข้างมาก จึงทำให้มีการนำเทคโนโลยีที่สามารถนำสัญญาณเสียงเหล่านั้นมารวมอยู่บนระบบเครือข่ายของสัญญาณข้อมูลและมีการรับ-ส่งสัญญาณทั้งคู่ได้ในเวลาเดียวกัน เพื่อเป็นการสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นค่าโทรศัพท์ทางไกลต่างจังหวัด หรือรวมถึงค่าโทรศัพท์ทางไกลต่างประเทศด้วยถ้าหากองค์กรนั้นมีสาขาอยู่ในต่างประเทศด้วย
สำหรับกลุ่มธุรกิจ ISP นั้นสามารถที่จะนำเทคโนโลยี VoIP นี้มาประยุกต์ใช้งานเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในธุรกิจของตนเองมากยิ่งขึ้น โดยทาง ISP ต่างๆ นั้นสามารถให้บริการ VoIP เพื่อเป็นบริการเสริมเพิ่มเติมขึ้นมาจากการให้บริการระบบเครือข่าย Internet แบบปกติธรรมดา หรือที่เราเรียกว่า Value Added Services ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างความแตกต่างและเพิ่มทางเลือกในการให้บริการกับกลุ่มลูกค้าด้วย

เทคโนโลยีและการทำงานของ VoIP
Standard of VoIP Technology

สำหรับมาตรฐานที่มีการใช้งานอยู่บนเทคโนโลยี VoIP นั้น โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 มาตรฐานด้วยกัน ได้แก่... มาตรฐาน H.323 และมาตรฐาน SIP มาตรฐานเหล่านี้ เราสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “Call Control Technologies” ซึ่งถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับการนำเทคโนโลยี VoIP มาใช้งาน

H.323 Standard
สำหรับมาตรฐาน H.323 นั้น จริงๆ แล้วไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับระบบเครือข่ายที่ใช้ Internet Protocol (IP) นอกจากนั้นมาตรฐาน H.323 ยังมีการทำงานที่ค่อนข้างช้า โดยปกติแล้วเราจะเสนอการใช้งานมาตรฐาน H.323 ให้กับลูกค้าก็ต่อเมื่อในระบบเดิมของลูกค้ามีการใช้งานมาตรฐาน H.323 อยู่แล้วเท่านั้น
 มาตรฐาน H.323 เป็นมาตรฐานภายใต้ ITU-T (International Telecommunications Union) Standard
 ในตอนแรกนั้น มาตรฐาน H.323 ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับการทำ Multimedia Conferencing บนระบบเครือข่าย LAN เป็นหลัก แต่มาในตอนหลังจึงถูกพัฒนาให้ครอบคลุมถึงการทำงานกับเทคโนโลยี VoIP ด้วย
 มาตรฐาน H.323 สามารถรองรับการทำงานได้ทั้งแบบ Point-to-Point Communications และแบบ Multi-Point Conferences
 อุปกรณ์ต่างๆ จากหลากหลายยี่ห้อ หรือหลายๆ Vendors นั้นสามารถที่จะทำงานร่วมกัน (Inter-Operate) ผ่านมาตรฐาน H.323 ได้
SIP (Session Initiation Protocol) Standard
มาตรฐาน SIP นั้นถือเป็นมาตรฐานใหม่ในการใช้งานเทคโนโลยี VoIP โดยที่มาตรฐาน SIP นั้น ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับระบบ IP โดยเฉพาะ ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะแนะนำให้ลูกค้าใหม่ที่จะมีการใช้งาน VoIP ให้มีการใช้งานอยู่บนมาตรฐาน SIP...
มาตรฐาน SIP นั้นเป็นมาตรฐานภายใต้ IETF Standard ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับการเชื่อมต่อ VoIP
 มาตรฐาน SIP นั้นจะเป็นมาตรฐาน Application Layer Control Protocol สำหรับการเริ่มต้น (Creating), การปรับเปลี่ยน (Modifying) และการสิ้นสุด (Terminating) ของ Session หรือการติดต่อสื่อสารหนึ่งครั้ง
 มาตรฐาน SIP จะมีสถาปัตยกรรมการทำงานคล้ายคลึงการทำงานแบบ Client-Server Protocol
เป็นมาตรฐานที่มี Reliability ที่ค่อนข้างสูง

How VoIP Works…
ในส่วนนี้เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับการทำงานของเทคโนโลยี VoIP กันนะครับ แต่ก่อนอื่นที่เราจะไปรู้จักกับกระบวนการต่างๆ ของเทคโนโลยี VoIP นั้น ผมขอนำทุกท่านมารู้จักรูปแบบของโปรโตคอล IP กันอย่างคร่าวๆ ก่อนนะครับ

Internet Protocol (IP)
Internet Protocol หรือ IP จะเป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลในระบบ Internet ซึ่งในส่วนของการทำงานคร่าวๆ ของโปรโตคอล IP นี้สามารถสรุปอย่างย่อได้ดังต่อไปนี้...
ข้อมูลจะถูกแบ่งย่อยออกเป็นส่วนๆ
แต่ละส่วนของข้อมูลจะถูกส่งออกไปในเส้นทางที่อาจจะแตกต่างกันบนระบบ Internet
ข้อมูลย่อยแต่ละส่วนนั้นจะไปถึงยังปลายทางในเวลาและลำดับที่ไม่พร้อมเพรียงกัน
หลังจากนั้นจะมีโปรโตคอลอีกหนึ่งตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ Transmission Control Protocol (TCP) ซึ่ง TCP นี้จะเข้ามาช่วยเกี่ยวกับการเรียงลำดับข้อมูลที่มาถึงยังปลายทางนี้ให้อยู่ในลำดับและรูปแบบที่ถูกต้องเหมือนข้อมูลต้นแบบก่อนที่จะถูกส่งออกมา
โปรโตคอล IP นี้จะเป็นโปรโตคอลในการสื่อสารแบบที่เรียกว่า Connectionless Protocol ซึ่งเป็นการสื่อสารที่จุดต้นทางและปลายของการสื่อสารไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างการเชื่อมต่อ (Connection) ขึ้นมา ณ เวลาที่ต้องการทำการสื่อสาร

หลังจากได้ทราบคร่าวๆ เกี่ยวกับโปรโตคอล IP กันไปแล้ว เราก็จะมาคุยกันถึงกระบวนการทำงานของเทคโนโลยี VoIP กัน ซึ่งมีขั้นตอนอยู่พอสมควรดังต่อไปนี้...

Conversion to PCM (Pulse Code Modulation)


ในขั้นตอนแรกจะเป็นการแปลงสัญญาณ Analog ให้ไปอยู่ในรูปแบบสัญญาณ Digital หรือที่เรียกว่า PCM

Removal of Echo


ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการมีการแยกสัญญาณออกเป็นส่วนๆ เพื่อทำการตัดสัญญาณ Echo ออก ซึ่งกระบวนการนี้จะถูกจัดการโดย DSP (Digital Signal Processors)

Framing


ในส่วนของสัญญาณที่เหลือนั้น ก็จะถูกแบ่งและจัดรูปแบบขึ้นมาใหม่ในรูปของ Frame ซึ่งกระบวนการนี้จะถูกจัดการโดยรูปแบบการบีบอัดที่เรียกว่า CODEC หลังจากกระบวนการนี้แล้ว Frame ของสัญญาณเสียงจะถูกสร้างขึ้น

Packetisation


ในกระบวนการนี้จะเป็นการแปลง Frame ของสัญญาณให้มาอยู่ในรูปของ Packet ซึ่งจะมีการเพิ่ม Header เข้าไปใน Packet โดยในส่วนของ Header นั้น ก็จะประกอบไปด้วยข้อมูลที่เรียกว่า Sequence Number และ Time Stamp หลังจากนั้น Packet นี้จะถูกส่งต่อไปที่ Host Processor

Address and Delivery


หลังจากที่ได้แปลงสัญญาณให้อยู่ในรูปของ Packet แล้ว ข้อมูลนั้นจะถูกนำมาวิเคราะห์และใส่ค่า IP Address ปลายทาง

Conversion to Analog


หลังจากที่ได้ทำการใส่ค่าของ IP Address ปลายทางไปใน Header ของ Packet แล้วนั้น เมื่อ Packet เหล่านั้นไปถึงด้านปลายทาง ข้อมูล Header เหล่านี้จะถูกแยกออกเพื่อให้เหลือแค่ Voice Frame หลังจากนั้นก็จะทำการแปลงสัญญาณ Digital PCM ให้กลับมาเป็นสัญญาณรูปแบบ Analog ที่เป็นสัญญาณเสียงที่เราได้ยินกันอีกครั้งหนึ่ง

Error Correction
กระบวนการนี้จะเป็นกระบวนการที่ใช้ในการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดซึ่งอาจจะเกิดขึ้นระหว่างการส่งสัญญาณและนำมาซึ่งความผิดเพี้ยนหรือความเสียหายของสัญญาณจนทำให้เราไม่สามารถทำการสื่อสารอย่างถูกต้องได้

ระบบของ VoIP สามารถแบ่งได้เป็น 4 ส่วนคือ

2.1 Voice Processing module
ทำการสุ่มตัวอย่างสัญญาณเสียงเพื่อส่งผ่านเครือข่าย IP ซอฟต์แวร์นี้โดยทั่วไปทำงานบน DSP (Digital Signal Processing) Voice Processing module จะต้องประกอบด้วยโปรแกรมซึ่งทำหน้าที่ดังต่อไปนี้

2.1.1 PCM Interface
รับตัวอย่าง (สัญญาณสุ่ม) จาก telephony (PCM) interface และส่งต่อให้กับ VoIP Software module ปฏิบัติการต่อ PCM Interface จะทำการสุ่มตัวอย่างเฟสอีกครั้งจากตัวอย่างที่เป็นผลลัพธ์ของ analog interface ซึ่งจะมีการทำการบีบอัดเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน และทำการแปลงสัญญาณ Analog เพื่อไปเป็น Digital

2.1.2 Echo Cancellation Unit
เป็นหน่วยกำจัดการสะท้อนของสัญญาณข้อมูลเสียงที่ถูกสุ่มตัวอย่าง และรูปแบบของการสื่อสารเป็นแบบ full duplex ตามมาตรฐานของ ITU G.165 หรือ G.168 echo cancellation จำเป็นกรณีที่ความล่าช้า 1 รอบของ VoIP มีค่ามากกว่า 50 ms

2.1.3 Voice Activity/Idle Noise Detector
มีหน้าที่ระงับการส่ง Packet เมื่อไม่มีสัญญาณเสียง ทำให้ประหยัดแถบความถี่ ถ้าตรวจจับได้ว่าไม่มีกิจกรรมเกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ผลลัพธ์ของ voice encoder จะถูกระงับไม่ให้ส่งผ่านเครือข่าย ระดับของเสียงว่างเปล่า (idle noise) จะถูกวัดและแจ้งให้ปลายทางทราบเพื่อที่จะแทรก "comfortable noise" เข้าไปในสายเพื่อไม่ให้คนฟังได้รับสายเงียบในโทรศัพท์

2.1.4 Tone Detector
ทำหน้าที่ตรวจจับการได้รับ DTMF tones (Dial Tone Multi-Frequency; กลุ่มของ tones ที่ตรงตามมาตรฐานและถูกเขียนทับ ใช้ในสัญญาณโทรศัพท์ซึ่งกำเนิดโดย touch tone pad) และแยกสัญญาณว่าเป็นเสียง หรือ แฟกซ์

2.1.5 Tone Generator
มีหน้าที่กำเนิด DTMF tones และ call progress tones ภายใต้คำสั่งของระบบปฏิบัติการ(OS)

2.1.6 Facsimile Processing module
มีหน้าที่ถ่ายถอดแฟกซ์โดย Stimulate สัญญาณ PCM และแยกข่าวสารออกมา และบรรจุข้อมูลที่สแกนแล้วลงใน Packet

2.1.7 Packet Voice Protocol module
มีหน้าที่รวบรวมสัญญาณเสียงที่ถูกบีบอัด และข้อมูลแฟกซ์ เพื่อส่งผ่านเครือข่ายข้อมูล แต่ละ Packet มีลำดับเลขที่ทำให้ Packet ที่ได้รับถูกส่งเรียงกามลำดับถูกต้อง และสามารถตรวจจับ Packet ที่หายได้

2.1.8 Voice Playout module ที่ปลายทาง ทำหน้าที่บัฟเฟอร์ Packet ที่ได้รับ และส่งต่อให้กับเครื่องเข้ารหัสเสียง เพื่อเล่นเสียงออกมา
รูปที่ 1 Block diagram ของ Voice Processing Module

รูปที่ 2 โครงสร้างภายในตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอล ( DSP )

2.2 The Call Processing module
ทำหน้าที่เป็น signaling gateway ยอมให้มีการสร้าง call ผ่านเครือข่าย Packet ซอฟต์แวร์นี้ support E&M (Ear & Mouth Signaling; สายส่งสัญญาณระหว่าง PBX และ CO ใช้ในการจองสาย, ส่งต่อดิจิต และ เลิกสาย) และ loop, Call Processing module จะตรวจจับสัญญาณเรียกใหม่ที่เกิดขึ้น และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ ทำงานอ้างอิงตาม protocol H.323 มีฟังก์ชันที่ต้องปฏิบัติดังนี้

2.2.1 ตรวจสอบ interface ที่ต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์เพื่อรับคำสั่ง และผลตอบที่จะเข้ามา

2.2.2 แยกข่าวสารออกมา และสิ้นสุดขั้นตอนการเข้าสัญญาณ (terminate signaling protocols เช่น E&M)

2.2.3 จัดการกับข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถเปิดการประชุม (session) ผ่านเครือข่าย Packet แปลงเบอร์โทรศัพท์เป็น IP address ขั้นตอนการหมุนเรียก (dialing) มี 2 วิธีคือ
(1) single stage หมุนเรียกเบอร์ของปลายทาง และ ใช้วิธีเลือกเส้นทางแบบอัตโนมัติ
(2) two stage หมุนเรียกเบอร์ของ VoIP gateway แล้วหมุนเรียกปลายทางจริง

2.3 Packet Processing module
เป็นขั้นตอนการบรรจุสัญญาณข้อมูลเสียงลงใน Packet เพิ่ม transport headers ก่อนส่ง Packet ผ่านเครือข่าย IP (หรือเครือ Packet อื่นๆ) แปลงข่าวสารของสัญญาณจาก telephony protocol เป็น packet signaling protocol

VoIP ทำงานโดยอาศัย protocol ที่ชื่อว่า H.323 ซึ่งเป็นชุดของมาตรฐานที่เกี่ยวกับหลายเรื่องรวมกัน โดยคลอบคลุมทั้งการสื่อสารแบบ จุดต่อจุด และหลายจุดพร้อมๆกัน

(1) Terminal คือ client หรือจุดที่ข้อมูล H.323 ถูกสร้างหรือขึ้น หรือสิ้นสุดการเดินทาง ซึ่งอาจจะเป็น PC หรือว่า เครื่องโทรศัพท์ที่สนับสนุน เครือข่าย IP ซึ่งอาจจะสนับสนุนสัญญาณวีดีโอด้วยก็ได้ Gateway คือ ใช้สำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายที่ต่างชนิดกัน เพื่อทำการแปลงชนิดของข้อมูลให้เข้ากันได้กับเครือข่ายที่จะเชื่อมต่อ

(2) Gatekeeper เป็นตัวช่วยบริการต่างๆในแต่ละฝั่งของเครือข่าย ซึ่งมีหน้าที่ในการ แปลง address ระหว่างหมายเลขโทรศัพท์ กับหมายเลข IP , จำกัดการใช้งานของแต่ละ terminal , บริหาร bandwidth และจัดการเกี่ยวกับการหาเส้นทางให้กับ Packet


Multipoint Control Unit (MCU) ใช้ในการติดต่อแบบ หนึ่งจุดกับหลายจุด โดยจะทำการสร้างวงจรเสมือน ขึ้นมา ให้กับ terminal แต่ละตัวที่ทำการสนทนากันอยู่

2.3.1 Procedures ของ H.323
 Audio Codecs
G.711 PCM สำหรับย่านความถี่เสียงพูด
G.722 7kHz audio coding ที่ 64kb/s
G.723.1 dual rate speech coders สำหรับส่งข้อมูล multimedia ที่ 5.3 และ 6.3 kb/s
G.728 Coding สำหรับเสียงพูดที่ 16 kb/s ใช้ Linear prediction
G.729 Coding สำหรับเสียงพูดที่ 16 kb/s ใช้ conjugate-structure algebraic code excite linear prediction
 Video codes

H.261 Coding สำหรับ ภาพและเสียง ที่ p*64 kb/s
H.263 Coding สำหรับ ภาพและเสียง ที่ bit rate ต่ำ
 Data conferencing

H.120 Data protocol สำหรับ multimedia conferencing
 Control

H.245 กำหนด message ที่ใช้เปิด channel ของ media stream รวมไปถึงคำสั่ง(command), คำขอร้อง(request), และสัญญาณบอกสถานะ(indication) อื่นๆ
H.225.0 กำหนด message ที่ใช้ควบคุมการเรียก หรือ ขอติดต่อไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง (call control) รวมทั้งสัญญาณที่ใช้ (signaling), การตอบรับ (registration และ admission) รวมทั้งการแบ่ง Packet และควบคุมจังหวะการทำงานให้ตรงกัน ของข้อมูลที่ส่ง (packetization/synchronization of media stream)

 Real time transport
RTP/RTCP คือ IETF RFC1889 ใช้สำหรับส่งข้อมูลเวลาจริง
 Security
H.235 กำหนดแนวทางของระบบรักษาความปลอดภัย การ Encryptions ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในระบบ H.323 ทั้งหมด
 Supplementary Services
H.450.1 กำหนดแนวทางสำหรับบริการเสริม กระบวนการและสัญญาณที่ใช้สำหรับ ให้บริการ ในรูปแบบที่คล้ายกับโทรศัพท์ธรรมดา
H.450.2 และ 450.3 ใช้ในการบริการที่เกี่ยวข้องกับการโอนสาย
2.3.2 ลำดับชั้นของ H.323 Terminal

2.4 Network management
จะควบคุมการจัดส่งข้อมูลไปให้ถึงปลายทาง สำหรับการสนทนาด้วยเสียงนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งข้อมูลแบบเวลาจริง แต่สำหรับ TCP/IP นั้น ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทำเช่นนั้นได้ เราทำได้เพียงกำหนดนโยบายเพื่อให้ Packet ของ H.323 ผ่าน router แต่ละตัวไปให้เร็วที่สุด ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

2.4.1 TOS ซึ่งอยู่ใน header ของ IP Protocol จะถูกกำหนดให้เป็น high เพื่อระบุให้ Packet นั้นเป็น Packet ที่มีความสำคัญสูง ยิ่งให้ความสำคัญสูง Packet ยิ่งใกล้ถูกส่งออกไปใกล้เวลาจริงยิงขึ้น

วิธีการจัดแถวคอยของ Packet

1) FIFO ( First in First Out) เป็นการส่งต่อ Packet ตามลำดับก่อน-หลัง ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ดีมากนัก

2) WFQ (Weighted Fair Queuing) วิธีนี้จะกำหนดให้มีความเสมอภาคกันของแต่ละ service เพื่อไม่ให้มี service ตัวใดตัวหนึ่งใช้ช่องสัญญาณมากเกินไป

3) CQ (Custom Queuing) วิธีนี้ให้ผู้ใช้งานเป็นผู้กำหนดความสำคัญของ Packet แต่ละชนิดด้วยตัวเอง

4) PQ(Priority Queuing) วิธีนี้จะสร้างแถวคอยขึ้นมามากกว่า 1 แถว ซึ่งแต่ละแถวจะมีความสำคัญที่แตกต่างกัน โดยการส่งต่อ จะเริ่มส่งที่ละแถว เมื่อแถวที่มีความสำคัญสูงสุดหมดแล้ว จึงจะเริ่มส่งแถวที่มีความสำคัญน้อยลงมา ตามลำดับ

5) CB-WFQ (Class Based Weighted Fair Queuing) วิธีการนี้จะมีความคล้ายคลึงกับ WQF แต่ต่างกันที่ ได้มีการเพิ่มคุณสมบัติของ class เข้าไป โดยให้ค่าของ bandwidth เป็นคุณสมบัติของแต่ละ class

2.4.2 ทำการกำหนดขนาด และจำกัด bandwidth ของแต่ละ terminal เพื่อรักษา bandwidth ให้ คงที่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำได้โดยการ จำกัด Bandwidth ของการ download และการ upload

2.4.3 มีการตรวจสอบเพื่อบ้องกันการคับคั่งของข้อมูล ซึ่งอาจจะใช้วิธี RED (Random Early Detection) เพื่อตรวจสอบ ปริมาณข้อมูล

นำ VoIP มาใช้อย่างไร
การใช้ VoIP ให้เกิดประโยชน์

แน่นอนว่าเทคโนโลยีใหม่ย่อมนำสิ่งที่ดีกว่ามาให้เสมอ สำหรับ VoIP ก็เช่นเดียวกัน ประการสำคัญของประโยชน์ที่ได้รับจาก VoIP คงต้องเป็นเรื่องการลดค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ขององค์กรลง ไม่ว่าจะเป็นการโทรในพื้นที่เดียวกันหรือโทรทางไกล แม้กระทั่งการโทรต่างประเทศ ทั้งโทรภายในองค์กรเองหรือโทรติดต่อกับหน่วยงานอื่นๆหรือลูกค้า ล้วนแล้วแต่ได้รับประโยชน์ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ทั้งสิ้น ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการนำ VoIP มาใช้อาจสรุปประเด็นเป็นข้อๆ ได้เช่น
1. ลดค่าใช้จ่าย (Cost Savings) ในการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ลง เนื่องจากเสียงได้ถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบเดียวกับข้อมูล จึงทำให้สามารถส่งสัญญาณเสียงไปในเครือข่าย LAN หรือ WAN ได้เลย ไม่ต้องผ่านเครือข่าย PSTN ที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า

2. เพิ่มความยืดหยุ่นในการติดต่อสื่อสารให้กับองค์กร เช่น ในสาขาหรือ Siteงานชั่วคราว สามารถนำ VPN ร่วมกับ VoIP ประกอบกันเพื่อสร้างระบบการติดต่อสื่อสารเต็มรูปแบบภายในองค์กรได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว

3. จัดการระบบเครือข่ายได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเครือข่ายการติดต่อสื่อสารทั้งหมด สามารถยุบรวมกันให้เหลือเพียงเครือข่ายเดียวได้ อีกทั้งในกรณีที่มีการโยกย้ายของหน่วยงานหรือพนักงาน การจัดการด้านหมายเลขโทรศัพท์และอื่นๆ สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องเดินสายสัญญาณใดๆขึ้นมาใหม่

4. รองรับการขยายตัวของระบบในอนาคต หากในอนาคตองค์กรขยายตัวใหญ่ขึ้น VoIP สามารถรองรับผู้ใช้งานได้เพิ่มมากขึ้นในทันทีโดยการเพิ่ม “Virtual” User เข้าไปในระบบเท่านั้นเอง

5. ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลและจัดการระบบ (Reduce Operating Expenses) เนื่องจากใช้ซอฟต์แวร์ในการจัดการ ทำให้ VoIP นั้นง่ายในการจัดการและบำรุงรักษา
6. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Increase Productivity) พนักงานสามารถส่งเอกสารผ่านเครือข่ายควบคู่ไปกับการสนทนา หรืออาจจัดการประชุมออนไลน์(Conference Call) ทั้งภาพและเสียง และแม้กระทั่งส่งเอกสารการประชุมให้กับผู้เข้าร่วมประชุมผ่านทางเครือข่ายได้อีกด้วย

7. ใช้ร่วมกับการสื่อสารไร้สายได้ ทำให้อุปกรณ์สื่อสารไร้สายต่างๆ เช่นโทรศัพท์มือถือหรือPDA สามารถติดต่อผ่าน VoIP เข้ามาในเครือข่ายขององค์กรได้

8. เพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อกับลูกค้า (Improved Level of Services) โดยใช้ความสามารถของแอพพลิเคชั่นต่างๆ ของ VoIP เช่น “Click-to-talk” เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการติดต่อกับลูกค้า


 ตัวอย่าง Application การใช้งานเทคโนโลยี VoIP

1. PBX to PBX Connection


ทั้ง 2 ฝั่งของสำนักงานจะสามารถใช้งานตู้สาขา PBX ของสำนักงานอีกฝั่งเปรียบเสมือนตู้สาขา PBX ของฝั่งตัวเอง
• Users ภายในไม่จำเป็นต้องทำการ Dial-out ออกไปบนระบบโทรศัพท์ PSTN เพื่อทำการเชื่อมต่อเข้ากับตู้สาขา PBX ของสำนักงานอีกฝั่ง

2. Long Line PBX Extension


เป็นการเชื่อมต่อที่สำนักงานใหญ่ขยายการเชื่อมต่อตู้สาขา PBX ไปที่สำนักงานสาขาที่ไม่มีตู้ PBX ใช้งานอยู่
ทางสำนักงานสาขาสามารถใช้งานตู้ PBX ผ่านทางสำนักงานใหญ่ได้เสมือนกับเป็นตู้สาขา PBX ของฝั่งตนเอง

3. Teleworker/ Local Access


เป็นการเชื่อมต่อที่ยินยอมให้ Remote User ฝั่งสำนักงานใหญ่สามารถใช้งานโทรศัพท์เข้ามาที่สำนักงานใหญ่ แล้วใช้ระบบเครือข่ายของสำนักงานใหญ่เชื่อมต่อไปยังสำนักงานสาขาผ่านเทคโนโลยี VoIP เพื่อสามารถใช้งานโทรศัพท์ในพื้นที่ของสำนักงานสาขาได้โดยเสียค่าบริการในอัตราของพื้นที่ของสำนักงานสาขานั้นๆ

4. Service Provider CPE


ผู้ให้บริการต่างๆ เช่น... ISP สามารถที่จะเสนอบริการเสริมต่างๆ ทางด้าน VoIP
บนระบบเครือข่ายความเร็วสูงที่มีการใช้งานอยู่เดิมแล้ว

จากที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด... เป็นการแนะนำให้ทราบถึงเทคโนโลยี VoIP และการนำเทคโนโลยี VoIP มาประยุกต์เพื่อใช้งานได้มากยิ่งขึ้น


อนาคตของ และแนวโน้มของ VoIP
ทิศทางบริการแห่งยุค

Voice over IP เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการให้บริการอินเทอร์เน็ต และได้กลายเป็นบริการยอดนิยมของผู้ที่เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ และนักศึกษา ซึ่งมีเวลาแต่ไม่มีเงิน เมื่อไม่นานมานี้ และในปัจจุบัน Voice over IP ก็กำลังได้รับความนิยมจากผู้ใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การไม่สามารถเปิดให้บริการโทรศัพท์ด้วยเสียงผ่านอินเทอร์เน็ตจากเครือข่ายที่มีอยู่เดิม อาจทำให้ผู้ให้บริการ เช่น เวอริซอน, เอสบีซี และเบลล์เซาธ์ ต้องสูญเสียส่วนแบ่งในตลาดโทรคมนาคมมูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์ได้ เนื่องจาก เมื่อใช้ Voice over IP ลูกค้ามีอิสระในการใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการเดิม หรือจะเปลี่ยนผู้ให้บริการใหม่ อย่างเช่น บริษัทผู้ให้บริการทีวีตามสาย (เคเบิล ทีวี) หรือธุรกิจเกิดใหม่ อย่าง Net2Phone และ Vonage ได้ ประกอบกับ การใช้งาน Voice over IP ไม่จำเป็นต้องโทรศัพท์ผ่านพีซีที่ใช้ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์เสริมอีกต่อไป แม้ว่าอุปกรณ์ดังกล่าว กำลังจะกลับมาอีกครั้งตามกระแสนิยมบริการ อย่าง Skype ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยอาศัยสถาปัตยกรรมของคาซา และทำให้การโทรศัพท์แบบพีซีกับพีซีง่ายขึ้น ขณะที่คิดค่าธรรมเนียมเหมือนโทรศัพท์ทั่วไป คือ เพียง 100 ดอลลาร์เท่านั้น นับตั้งแต่เปิดตัวไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โวเนจ ผู้ให้บริการ Voice over IP ชั้นนำ สามารถดึงดูดให้ลูกค้า 85,000 คน จ่ายค่าบริการ 15 - 35 ดอลลาร์ต่อเดือน

แนวโน้มวงการโทรคมฯ

เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท นีเมอร์เทส รีเสิร์ช ในชิคาโก ทำสำรวจ 42 บริษัท ซึ่งคิดเป็น 70% ของบริษัทที่มีรายได้มากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ และพบว่า ประชาชนเกือบ 2 ใน 3 ใช้โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต ขณะที่อีก 20% ที่เหลือ กำลังทดลองใช้เทคโนโลยีดังกล่าว จึงไม่แปลกใจว่าทำไมเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เอที แอนด์ ที, เควสต์, คอกซ์ คอมมิวนิเคชันส์, และไทม์ วอร์เนอร์ เทเลคอม จึงตบเท้าทยอยเปิดตัวบริการ Voice over IP ของตัวเอง
Voice over IP สร้างความตื่นเต้นให้กับลูกค้า นางแคธี มาร์ติน รองประธานอาวุโสเอที แอนด์ ที ผู้ซึ่งผลักดันให้บริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต ของมา เบลล์ กลายเป็นบริการยอดนิยม 100 อันดับแรกในตลาดผู้บริโภคทั่วไปและองค์กรธุรกิจของสหรัฐ กล่าว พร้อมเสริมว่า คำว่า แจ๋ว ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในภาคโทรคมนาคมเลย นับตั้งแต่การมาถึงของโทรศัพท์ในทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา แต่ความยืดหยุ่นของโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต อาจทำให้ผู้ใช้ต้องอุทานคำดังกล่าว เพื่อแสดงออกถึงความพอใจในการใช้งาน
ขณะที่นายเดวิด ไอเซนเบิร์ก ที่ปรึกษาด้านโทรคมนาคมอิสระ ขยายความเรื่องความยืดหยุ่นของบริการ Voice over IP ไว้ว่า โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต ทำงานบนมาตรฐานเปิด จึงแตกต่างจากเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน ที่ต้องถูกควบคุมอย่างเข้มงวดและเสียค่าใช้จ่ายสูงในการเพิ่มลูกเล่นใหม่ ด้วย Voice over IP

คุณสามารถพัฒนาฟังก์ชันใหม่ได้เร็วเท่ากับการเขียนโปรแกรม นายไอเซนเบิร์ก ซึ่งร่วมงานกับเบลล์ แลบส์ของเอที แอนด์ ที มากว่า 12 ปี กล่าว
ในปัจจุบันการส่งสัญญาณเสียงกับข้อมูล จะถูกส่งผ่านโครงข่ายที่แยกจากกัน แต่แนวโน้มของการสื่อสารโทรคมนาคมในอนาคตอันใกล้นี้ จะเป็นลักษณะการรวมบริการหลายๆ อย่างไว้ในโครงข่ายเดียว ซึ่งสามารถให้บริการได้ทั้งสัญญาณเสียง, ข้อมูล, ภาพ ภายใต้โครงข่าย แบบแพ็คเกจ โดยการส่งข้อมูลทั้งสัญญาณภาพ และเสียงเป็นชุดของข้อมูล ที่สัญญาณเสียง จะถูกแปลงเป็นข้อมูล ก่อนที่จะถูกส่ง ในโครงข่าย โดยใช้ไอพีโปรโตคอล (Internetworking Protocol: IP) ซึ่งกำลังเป็นสิ่งทีได้รับ ความสนใจ เป็นอย่างมาก ทั้งในส่วนขององค์กร ธุรกิจ และผู้ให้บริการโครงข่ายหลายราย

ส่วนสิ่งที่ผลักดันให้ VoIP ภายใต้ ไอพี เทเลโฟนนี่ (IP Telephony) เป็นที่ต้องการทางด้านการตลาด คือ

ประการแรก โอกาสที่จะติดต่อ สื่อสารระหว่างประเทศ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต โดยมีราคาที่ถูกกว่าโครงข่ายโทรศัพท์ทั่วไป

ประการ 2 การพัฒนารูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน โดยที่ส่วนหนึ่งถูกพัฒนาขึ้นให้สามารถใช้งานใน VoIP ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารได้กว้างไกลมากขึ้น

ประการ 3 การเป็นที่ยอมรับ และรับเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอย่างมากมาย รวมทั้งการเพิ่ม จำนวนขึ้นของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ VoIP ได้รับความนิยมในการติดต่อสื่อสาร

ประการ 4 มีการใช้ประโยชน์จากระบบ Network ที่มีการพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปในปัจจุบัน ให้สามารถใช้งาน ได้ทั้งในการส่งข้อมูล และเสียงเข้าด้วยกัน

ประการ 5 ความก้าวหน้าทางด้านการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ช่วยลดต้นทุนในการสร้างเครือข่ายของ VoIP ในขณะที่ ความสามารถ การให้บริการมีมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ เข้ามาร่วมใน VoIP มากขึ้น

ประการ 6 ความต้องการที่จะมีหมายเลขเดียวในการติดต่อสื่อสารทั่วโลก ทั้งด้านเสียง, แฟกซ์ และข้อมูล ถึงแม้ว่าบุคคลนั้น จะย้ายไปที่ใด ก็ตามก็ยังคงสามารถใช้หมายเลขเดิมได้ เป็นความต้องการของผู้ใช้งานและธุรกิจ

ประการ 7 การเพิ่มขึ้นอย่างมากมายของการทำรายการต่างๆ บน e-Commerce ในปัจจุบัน ผู้บริโภคต่างก็ต้องการการ บริการที่มีคุณภาพ และมีการโต้ตอบกันได้ระหว่างที่กำลังใช้ อินเทอร์เน็ตอยู่ ซึ่ง VoIP สามารถเข้ามาช่วยในส่วนนี้ได้

ประการ 8 การเติบโตอย่างรวดเร็วของ Wireless Communication ในปัจจุบัน ซึ่งผู้ใช้ในกลุ่มนี้ต้องการ การติดต่อสื่อสาร ที่ราคาถูกลง แต่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ดังนั้น ตลาดกลุ่มนี้ถือว่า เป็นโอกาสของ VoIP

จากอดีตมีการส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายวงจรของชุมสายโทรศัพท์ (Circuit Switching) ทำให้เกิดการใช้งานโครงข่ายได้ ไม่เต็มประสิทธิภาพ มากเท่าที่ควร เพราะแต่ละวงจร หรือเส้นทางถูกกำหนดให้ผู้ใช้เพียงคนเดียวเท่านั้น แม้ว่าวงจร หรือเส้นทางนั้นๆ จะว่างอยู่ก็ตาม แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการใช้งานแบบแพ็คเกจสวิตชิ่ง (Packet Switching) มากขึ้น โดยการแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็คเกจย่อยๆ และทำการส่งไปตามเส้นทางต่างๆ กัน อันเป็นการกระจายทราฟฟิก (Traffic) ทั้งหมดในโครงข่ายให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้โครงข่ายมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งหลักการของแพ็คเกจ สวิตชิ่งนี้ได้นำมาใช้เป็น Voice Over Packet เนื่องจากมีการปรับปรุง การทำงาน (Performance) บน Packet Switching ทำให้ Performance per Cost ของ Packet Switching ในอนาคตดีกว่า Circuit Switching

ทิศทางของการใช้บริการโทรศัพท์แบบเสียง มีแนวโน้มของการเจริญเติบโตค่อนข้างต่ำ ในขณะที่อัตราการเจริญ เพิ่มของการ ใช้โทรศัพท์แบบข้อมูลมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว อันเนื่องจากการใช้งานที่แพร่หลายในทั่วโลก และนับจากที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ได้พัฒนามาจนกระทั่งระบบโทรศัพท์บนอินเทอร์เน็ต (VoIP)